のんびりする ; )

ดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำสุขภาพพัง แต่ถ้าดื่มน้ำมากเกินไป ก็พังเช่นกัน แค่ไหนถึงพอดี !?

850

- Advertisement -

หลายคนเคยเข้าใจว่า หากต้องการให้สุขภาพดี ต้องดื่มน้ำมาก ๆ เพราะจะทำให้ร่างกายสดชื่น ไม่อ่อนเพลีย ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานดี ระบบขับถ่ายดี

แต่กลับพบว่า มีคนที่ป่วยจากกระดื่มน้ำมากเกินไป แล้วมันต้องทำยังไง!? ต้องดื่มน้ำอย่างไรถึงจะเรียกว่าพอดี

ถ้าดื่มน้ำน้อยเกินไป จะเป็นอย่างไร ?

จากบทความของ โรงพยาบาลวิภาวดี ระบุว่า การดื่มน้ำน้อยไม่เพียงทำให้ร่างกายขาดน้ำและรู้สึกอ่อนเพลียไม่สดชื่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของคุณอีกด้วยเราจึงมี 5 โรคร้าย ที่มาจากการดื่มน้ำน้อย

1. สมองเสื่อม

การดื่มน้ำน้อย อาจส่งผลเสียจนเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้ เพราะเมื่อร่างกายของเราขาดน้ำ ปริมาณของน้ำในร่างกายไม่เพียงพอในการเป็นส่วนหนึ่งของเลือดที่สูบฉีดไปทั่วร่างกาย เลือดมีความข้นหนืดมากขึ้นทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุของอาการสมองเสื่อมได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นหากคุณรู้สึกไม่สดชื่น เนือยๆ คิดอะไรช้า ไม่กระฉับกระเฉง นั่นอาจเป็นผลมาจากการดื่มน้ำน้อยเกินไปได้

2. ริดสีดวงทวาร

การดื่มน้ำไม่เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ อาจส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ยากลำบากมากขึ้น และอาจทำให้คุณไม่สามารถขับอุจจาระออกมาได้ เพราะอุจจาระอาจแห้งเกินไป เมื่อของเสียสะสมอยู่ในลำไส้ ลำไส้ก็จะดูดซึมของเสียนั้นกลับเข้าร่างกายไปอีก ยิ่งทำให้เลือดมีของเสียและข้นหนืดกว่าเดิม อุจจาระก็แข็งแห้งกว่าเดิม จนเกิดเป็นอาการท้องผูก เมื่อคุณมีอาการแบบนี้บ่อย ๆ อาจทำให้คุณป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวารได้

3. ปวดข้อ กระดูกอ่อนในหลาย ๆ ส่วนของร่างกาย

รวมไปถึงหมอนรองกระดูก มีส่วนประกอบเป็นน้ำมากถึง 80% ดังนั้นหากข้อต่อหรือหมอนรองกระดูกแห้ง ไม่ชุ่มชื้นเพียงพอ อาจทำให้ข้อต่อต่างๆ ดูดซับแรงกระแทกได้ไม่ดีพอ จนเกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย หรืออาจอักเสบได้ง่ายเมื่อต้องออกแรงเดิน ยก เหวี่ยง รวมไปถึงการออกกำลังกาย

4. ทางเดินปัสสาวะอักเสบ-กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

หากคุณมีอาการปวดปัสสาวะ แต่ไม่มีปัสสาวะไหลออกมา หรือไหลออกเพียงหยดสองหยด คุณอาจกำลังเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อันเนื่องมาจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ การติดเชื้อ และการกลั้นปัสสาวะนานๆ

5. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ

ปัญหาสุขภาพของคุณผู้หญิงที่ต้องเจอหากดื่มน้ำน้อย หากคุณพบว่าคุณมีประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ ขาด ๆ หาย ๆ มีน้ำเกินไป มีสีเข้มเกินไป มาเป็นลิ่มเลือด หรือแม้กระทั่งปวดท้องประจำเดือนมาก หนึ่งในสาเหตุอาจมาจากการดื่มน้ำน้อยเกินไปได้

แล้วถ้าดื่มน้ำมากเกินไปละ จะเป็นอย่างไร ?

จากบทความของ โรงพยาบาลเพชรเวช ระบุว่า การดื่มน้ำเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ แต่บางครั้งสภาพอากาศที่ร้อนจนเกินไป บางทีอาจเผลอดื่มน้ำมากเกินไป ผลเสียจึงเกิดกับสุขภาพ เพราะว่าไตจะทำงานหนักมากขึ้น ในการขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย หากมีปัญหาเกี่ยวกับไตอยู่แล้ว จะยิ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายมากยิ่งขึ้น อีกทั้งร่างกายยังสามารถเกิดภาวะน้ำเป็นพิษได้

1. โซเดียมต่ำกว่าปกติ

ค่าปกติของโซเดียมในร่างกายนั้นจะอยู่ที่ 135-145 mEg/L. แต่ถ้าหากดื่มน้ำมากเกินไปร่างกายเสียสมดุล โดยค่าของโซเดียมนั้นจะอยู่ต่ำกว่า 135 mEq/L นี่คือภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ อาการของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำมักจะมีอาการสับสนเพียงเล็กน้อย หรือการเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อ หากมีอาการรุนแรงจะมีความรู้สึกง่วงนอน และไม่รู้สึกตัวในที่สุด

2. เซลล์บวม

ในร่างกายของมนุษย์จะมีโซเดียม และโพแทสเซียมไอออนที่ทำหน้าที่เป็นอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย และรักษาสมดุลของเหลว ระหว่างเซลล์ และเลือด หากดื่มน้ำมากเกินไปน้ำก็จะเข้าไปในเซลล์ ทำให้เซลล์บวมมากขึ้น จะมีอาการปวดศีรษะ ชัก และไม่รู้สึกตัว มีความเสี่ยงในการเสียชีวิต

3. กล้ามเนื้อเป็นตะคริว

เมื่อร่างกายเสียสมดุลจากการดื่มน้ำมากเกินไป กล้ามเนื้อจะเกิดการหดเกร็ง และเป็นตะคริวในที่สุด

4. ไตทำงานหนัก

หากดื่มน้ำครั้งละมากๆ ไตจะกรองน้ำส่วนเกินออกจากเลือดอย่างหนัก ส่งผลให้เกิดโรคไตเรื้อรัง และโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

5. หัวใจทำงานหนัก

- Advertisement -

เมื่อดื่มน้ำเข้าไปในร่างกาย ลำไส้เล็กจะทำการออสโมซิส (Osmosis) น้ำไปในกระแสเลือด เมื่อปริมาณน้ำเข้าสู่ร่างกายเยอะ ปริมาตรเลือดก็เพิ่มสูงขึ้น หัวใจจึงต้องทำงานหนัก สามารถเกิดอาการชักได้

6. โพแทสเซียมต่ำกว่าปกติ

เมื่อได้รับน้ำมากเกินไป ทำให้ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายต่ำลง ทำให้ความดันโลหิตต่ำ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เสี่ยงต่อการเป็นอัมพาตได้

7. เหนื่อย อ่อนเพลีย

หากไตทำงานหนักขึ้น ร่างกายจะมีความรู้สึก อ่อนเพลีย และเหนื่อยได้เช่นกัน

อาการที่เกิดขึ้นหากดื่มน้ำมากเกินไป ไตไม่สามารถขับน้ำออกไปได้หมด จะเกิดอาการดังนี้

คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย

เมื่อเซลล์เกิดการบวมน้ำ จะเกิดอาการดังนี้

สับสน มึนงง ปวดศีรษะ ง่วงซึม ริมฝีปาก มือ และเท้า มีอาการบวม

ระดับแร่ธาตุในร่างกายลดลงผิดปกติ จะเกิดอาการดังนี้

เกร็งของกล้ามเนื้อหรือตะคริว เกิดอาการชัก สูญเสียการรับรู้ การเสียชีวิตได้

บุคคลที่มีความเสี่ยงดื่มน้ำมากเกินไป

ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วย โรคหัวใจ นักกีฬา หรือผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตอากาศร้อน ผู้ที่เคยใช้ยาเสพติด รวมถึงการติดแอลกอฮอล์ ผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก ทารกที่ไม่ได้รับนมแม่ หรือทารกที่อยู่ในครรภ์ของมารดาที่ติดยาเสพติด ผู้ป่วยจิตเวช เช่น ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์

นอกจากการดื่มน้ำแล้ว การปัสสาวะก็เป็นเรื่องที่สำคัญ

ปกติแล้วควรปัสสาวะทุกๆ 3-4 ชั่วโมง ใน 1 วัน และสีปัสสาวะต้องเป็นสีเหลืองอ่อน ๆ หากมีการปัสสาวะน้อยกว่า 3-4 ครั้ง ต่อวัน และปัสสาวะเป็นสีเข้ม แสดงว่าร่างกายได้รับน้ำน้อยจนเกินไป หากมีการปัสสาวะมากกว่า 6–8 ครั้งต่อวัน และปัสสาวะมีสีใส แสดงว่าร่างกายได้รับน้ำมากเกินไป

ดังนั้น เราควรดื่มน้ำเท่าไร ถึงจะดีที่สุด ? และเหมาะสมกับร่างกายของแต่ละคน

  • ผู้ชาย ควรดื่มน้ำไม่เกิน 3.7 ลิตรต่อวัน
  • ผู้หญิง ควรดื่มน้ำไม่เกิน 2.7 ลิตรต่อวัน
  • ควรจิบน้ำทีละน้อยตลอดทั้งวัน
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำทีละมาก ๆ ในเวลาสั้น ๆ

ข้อมูลอ้างอิง :

โรงพยาบาลวิภาวดี

โรงพยาบาลเพชรเวช

ภาพถ่ายโดย Andrea Piacquadio: https://www.pexels.com/th-th/photo/1024389
ภาพถ่ายโดย Andrea Piacquadio: https://www.pexels.com/th-th/photo/1024389

- Advertisement -

Comments are closed.